วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า(Trigeminal neuralgia)
โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า
(Trigeminal
neuralgia)
อาการ
โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าเป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่งส่วนใหญ่มักจะพบในช่วงวัยผู้ใหญ่ถึงวัยสูงอายุ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่ใบหน้าด้านใดด้านหนึ่งรวมทั้งอาจจะปวดในบริเวณกระพุ้งแก้ม เหงือกและฟันได้อย่างรุนแรง
อาการปวดจะเกิดขึ้นมาเองโดยฉับพลันผู้ป่วยจะมีความรู้สึกปวดเหมือนโดนเข็มแทง
เหมือนไฟช็อต หรืออาจปวดแบบแสบร้อนที่บริเวณใบหน้ารวมทั้งเหงือก
บางรายอาจมีอาการปวดเหมือนกับปวดฟันทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นโรคฟันผุและได้รับการถอนฟันออกโดยไม่จำเป็น
อาการปวดมักจะเกิดรุนแรงเป็นพักๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่กี่นาทีแต่สามารถเกิดขึ้นได้ซ้ำๆ
ถี่ๆ ตลอดวันและนำมาซึ่งความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก
ผู้ป่วยบางรายอาจมีตำแหน่งบนใบหน้าที่เมื่อไปกระตุ้นสัมผัสถูกจะให้มีอาการปวดเกิดขึ้นมา ผู้ป่วยเหล่านี้อาจจะมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการกระตุ้นตำแหน่งดังกล่าวเช่น
ไม่ล้างหน้าแปรงฟัน ไม่โกนหนวด หรือหลีกเลี่ยงการพูดคุย เป็นต้น
สาเหตุ
โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุแต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากที่มีเส้นเลือดสมองไปกดทับเส้นประสาทคู่ที่ห้า
ซึ่งทำหน้าที่รับความรู้สึกจากบริเวณใบหน้าและช่องปากจึงทำให้มีอาการปวดเกิดขึ้นที่บรเวณดังกล่าวส่วนสาเหตุอื่นๆ
จะพบได้ไม่บ่อยนัก เช่น มีเนื้องอกสมอง ปลอกประสาทเสื่อม (multiple
sclerosis) หรือเป็นผลแทรกซ้อนจากติดไวรัสโรคงูสวัดที่บริเวณใบหน้า
เป็นต้น
การรักษาโดยยา
ในช่วงระยะแรกอาการปวดมักจะรักษาได้ผลดีมากโดยการกินยา
แพทย์มักจะให้ยาแก้อาการปวดเส้นประสาท เช่น Tegretal, Trileptal,
Dilantin, Neurontin หรือ Baclofen ยาดังกล่าวเพียงแต่ช่วยไม่ให้มีอาการปวดแต่ไม่ได้รักษาสาเหตุของโรค หรือทำให้หายขาดจากโรค
ดังนั้นเมื่อเลิกกินยาอาการปวดจะกลับมาเป็นซ้ำอีก
หรือมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งเมื่อกินยาไประยะหนึ่งมักจะไม่ได้ผลดีเหมือนในช่วงแรกและจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีรักษาโดยวิธีอื่น
การรักษาโดยการทำลายเส้นประสาท
เมื่อรักษาด้วยยาไม่ได้ผลอีกต่อไปการรักษาโดยการทำลายเส้นประสาทคู่ที่ห้า
(บางส่วน) เป็นทางเลือกทางหนึ่งในการควบคุมอาการปวด
ซึ่งในประเทศไทยมีวิธีการที่ใช้กันมากอยู่สองวิธีคือ
1. การทำลายเส้นประสาทโดยความร้อน (Percutaneous radiofrequency
rhizotomy)
2. การทำลายเส้นประสาทโดยรังสี (Radiosurgery)
นอกเหนือจากสองวิธีดังกล่าวแล้วยังมีวิธีอื่นๆ
ในการทำลายเส้นประสาทคู่ที่ห้า เช่น
การใช้บอลลูนกดทำลายเส้นประสาทหรือการฉีดสารกรีเซอรอลทำลายปลอกประสาท เป็นต้น
การรักษาโดยการทำลายเส้นประสาทไม่ว่าจะโดยวิธีใดก็ตามจะมีข้อดีและข้อเสียคล้ายๆ
กันคือ
เป็นวิธีที่ไม่ต้องได้รับการดมยาสลบหรือผ่าตัด
ไม่มีบาดแผลไม่จำเป็นต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลมีความเสี่ยงต่ำสามารถทำได้ในผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรง
เช่น มีอายุมากหรือมีโรคประจำตัวรวมทั้งเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายทุกข์ทรมานจากอาการปวด
แต่จะเนื่องจากบางส่วนของเส้นประสาทคู่ที่ห้าถูกทำลายจากการรักษาดังนั้นจะมีผลข้างเคียงคือจะมีอาการชาที่ใบหน้าเหมือนได้รับการฉีดยาชาและอาจจะเป็นปัญหาชวนรำคาญได้อย่างมากในผู้ป่วยบางราย
การรักษาโดยการผ่าตัด
เนื่องจากโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการที่มีเส้นเลือดสมองไปกดเบียดเส้นประสาทจึงมีการรักษาโดยการผ่าตัดสมองเข้าไปโยกเปลี่ยนตำแหน่งของเส้นเลือด
การรักษาโดยวิธีนี้เป็นการแก้ไขที่สาเหตุโดยตรงดังนั้นจึงมีอัตราการหายขาดจากโรคสูง
อีกทั้งผู้ป่วยจะไม่มีปัญหาเรื่องใบหน้าชาภายหลังการรักษาเนื่องจากไม่มีการทำลายใดๆ
ต่อเส้นประสาท
ด้วยความก้าวหน้าของเทคนิคประสาทจุลศัลยกรรมในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะเป็นการรักษาที่ต้องทำการผ่าตัดสมองแต่ก็จัดว่ามีความเสี่ยงต่ำมากโดยทั่วไปผู้ป่วยพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาลเพียงไม่กี่วันเท่านั้น
ที่มา
อ.ดร.นพ.ศรัณย์
นันทอารี
สาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์
ภาควิชาศัลยศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ค้นหาใน Web นี้
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Tennis Elbow คือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นทางด้านนอกข้อศอก ซึ่งเกิดจากการอักเสบตรงบริเวณที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกระดกข้อมือ...
-
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส วาริเซลลา มีลักษณะอาการเป็นผื่นแดงราบ ตุ่มใส ตุ่มหนอง กระจายตามหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง และมีไข้ เกิดจากเชื้อไว...
-
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จำเป็นหรือไม่ ? บทนำ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นการผ่าตัดเล็กที่ทำกันบ่อยมาก จนเกือ...
-
ต่อมทอนซิล คือต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณด้านข้างลำคอตรงโคนลิ้น เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิดทำ...
-
การล้างจมูกคืออะไร การล้างจมูก คือ การทำความสะอาดโพรงจมูก โดยการใส่ หรือหยอดน้ำเข้าไปในจมูกการล้างจมูก จะช่วยชะล้างมูก ครา...
-
ปุ่มกระดูกในช่องปาก ปุ่มกระดูกในช่องปากมีชื่อเรียกต่างกันไปตามตำแหน่งที่พบ เช่น พบในบริเวณกึ่งกลางเพดานของขากรรไกรบน จะเร...
-
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ กรดยูริคที่เป็นตัวการทำให้ข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เกิดมาจาก “ สารพิวรีน ” ทั้งที่มีอยู่ในร่าง...
-
โรค Carpal Tunnel Syndrome หรือชื่อย่อคือ CTS เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากเส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้า...
-
ผ่าตัดริดสีดวงทวาร อย่างไรไม่ให้เจ็บ (หรือเจ็บน้อย) โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบบ่อย เกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดขนาดเล็กบริเวณเยื่อบุ...
-
ผ่าตัดริดสีดวงทวาร อย่างไรไม่ให้เจ็บ (หรือเจ็บน้อย) โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบบ่อย เกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดขนาดเล็กบริเวณเยื่อบ...
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
ผู้ติดตาม
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น