วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เปลี่ยนยาคุม ทำอย่างไรดี
เปลี่ยนยาคุม
ทำอย่างไรดี
ผู้หญิงส่วนใหญ่คงทราบกันดีว่าปัจจุบันมียาคุมกำเนิดหลากหลายชนิดและรูปแบบ
แต่สำหรับบางคนเมื่อตัดสินใจเลือกวิธีคุมกำเนิดแบบใดแบบหนึ่งไปแล้ว
อาจรู้สึกว่าไม่สะดวกต่อการใช้หรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาคุมกำเนิดชนิดนั้นในภายหลัง
จึงต้องการเปลี่ยนเป็นยาคุมกำเนิดชนิดใหม่
ซึ่งหลายคนตัดสินใจเปลี่ยนยาคุมกำเนิดด้วยตัวเอง
โดยเฉพาะยาเม็ดคุมกำเนิดที่ไม่ต้องมีเทคนิคพิเศษในการใช้ยา
เพราะเข้าใจว่าคงใช้เหมือนเดิม เช่น หยุด 7 วัน
(กรณีในแผงมี 21 เม็ด) หรือ รับประทานจนหมดแผง (กรณีในแผงมี 28
เม็ด) แล้วค่อยเริ่มยาคุมกำเนิดชนิดใหม่ แต่จริงๆ แล้ว
ยาเม็ดคุมกำเนิดแต่ละยี่ห้ออาจมีชนิดและปริมาณของฮอร์โมนแตกต่างกัน
ซึ่งการเว้นช่วง (gap) ดังที่ยกตัวอย่างข้างต้นนั้น
อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดลดลงระหว่างการเปลี่ยนยาคุมกำเนิดได้ นอกจากนี้
การเปลี่ยนยาคุมกำเนิดจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น จากยาเม็ดเป็นยาฉีด
เป็นต้น ก็ต้องคำนึงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนยาเช่นกัน
การเปลี่ยนยาคุมกำเนิด
อาจไม่จำเป็นต้องรอให้ประจำเดือนมาก่อน โดยสามารถปฏิบัติดังแสดงในแผนภาพ
ซึ่งจะเห็นว่า บางกรณีมีการใช้ยาคุมกำเนิดต่อเนื่องกันเลยโดยไม่เว้นช่วง
หรือบางกรณีจะมีช่วงเวลาคาบเกี่ยวกันระหว่างวิธีเดิมและวิธีใหม่
ขึ้นกับชนิดและรูปแบบของยา ทั้งนี้
เพื่อให้ยาคุมกำเนิดชนิดใหม่ออกฤทธิ์ได้เต็มที่และยาชนิดเดิมหมดฤทธิ์ไปในเวลาเดียวกัน
ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการตั้งครรภ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเปลี่ยนยาคุมกำเนิด
ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย เช่น ถุงยางอนามัย เป็นต้น
แต่หากไม่สามารถปฏิบัติตามวิธีข้างต้น
เช่น กำลังรับประทานเม็ดที่ไม่ใช่ฮอร์โมน (เม็ดยาหลอกในแผงยาฮอร์โมนรวมที่มี 28 เม็ด) หรืออยู่ในช่วงรอให้ประจำเดือนมา หรือประจำเดือนมาแล้ว เป็นต้น
จะต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เช่น
ใช้ถุงยางอนามัย หรืองดมีเพศสัมพันธ์ ใน 7
วันแรกของการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดใหม่
อย่างไรก็ตาม
ข้อมูลทางการแพทย์ในทุกสาขาอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตเนื่องมาจากผลการศึกษาของงานวิจัยใหม่ๆ
ดังนั้น หากต้องการเปลี่ยนยาคุมกำเนิด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง
เพื่อให้ได้รับคำแนะนำและช่วยวางแผนการเปลี่ยนยาคุมกำเนิดอย่างเหมาะสม
เอกสารอ้างอิง
Lesnewski R, Prine L, Ginzburg R. Preventing gaps when
switching contraceptives. Am Fam Physician. 2011;83(5):567-570.
How to Switch Birth Control Methods. Am Fam Physician.
2011;83(5):575-576.
ORTHO EVRA® prescribing information. Available from http://www.orthoevra.com/sites/default/files/assets/OrthoEvraPI.pdf
ที่มา เภสัชกร
สุรศักดิ์ วิชัยโย
ภาควิชาเภสัชวิทยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ค้นหาใน Web นี้
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Tennis Elbow คือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นทางด้านนอกข้อศอก ซึ่งเกิดจากการอักเสบตรงบริเวณที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกระดกข้อมือ...
-
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส วาริเซลลา มีลักษณะอาการเป็นผื่นแดงราบ ตุ่มใส ตุ่มหนอง กระจายตามหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง และมีไข้ เกิดจากเชื้อไว...
-
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จำเป็นหรือไม่ ? บทนำ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นการผ่าตัดเล็กที่ทำกันบ่อยมาก จนเกือ...
-
ต่อมทอนซิล คือต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณด้านข้างลำคอตรงโคนลิ้น เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิดทำ...
-
การล้างจมูกคืออะไร การล้างจมูก คือ การทำความสะอาดโพรงจมูก โดยการใส่ หรือหยอดน้ำเข้าไปในจมูกการล้างจมูก จะช่วยชะล้างมูก ครา...
-
ปุ่มกระดูกในช่องปาก ปุ่มกระดูกในช่องปากมีชื่อเรียกต่างกันไปตามตำแหน่งที่พบ เช่น พบในบริเวณกึ่งกลางเพดานของขากรรไกรบน จะเร...
-
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ กรดยูริคที่เป็นตัวการทำให้ข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เกิดมาจาก “ สารพิวรีน ” ทั้งที่มีอยู่ในร่าง...
-
โรค Carpal Tunnel Syndrome หรือชื่อย่อคือ CTS เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากเส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้า...
-
ผ่าตัดริดสีดวงทวาร อย่างไรไม่ให้เจ็บ (หรือเจ็บน้อย) โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบบ่อย เกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดขนาดเล็กบริเวณเยื่อบุ...
-
ผ่าตัดริดสีดวงทวาร อย่างไรไม่ให้เจ็บ (หรือเจ็บน้อย) โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบบ่อย เกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดขนาดเล็กบริเวณเยื่อบ...
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
ผู้ติดตาม
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น