วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2557
ทำอย่างไร! เมื่อข้อเท้าแพลง
ทำอย่างไร! เมื่อข้อเท้าแพลง
อุบัติเหตุมักเกิดโดยไม่คาดคิดอย่างเช่น ข้อเท้าแพลง จะทำอย่างไรดี!
ไม่ต้องตกใจครับ เรามีวิธีช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นมาฝากกัน
ข้อเท้าแพลง คือ การที่เส้นเอ็นข้อเท้าด้านนอกมีการเคล็ดหรือฉีกขาดจากการหมุน หรือบิดของข้อเท้า มักเกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้ข้อเท้าเคลื่อนไหวผิดท่าทาง เช่น เดินพลาดตกหลุม เดินบนพื้นที่ขรุขระ เหยียบก้อนหิน หรือหกล้ม อาการโดยทั่วไปที่พบ ข้อเท้าจะปวด บวม และเคลื่อนไหวไม่ถนัด ซึ่งความรุนแรงนั้นมีอยู่ 3 ระดับ คือ
ข้อเท้าแพลงระดับ 3 ข้อเท้าบวมและฟกช้ำมาก
ระดับ 1 ข้อเท้ามีอาการปวดเล็กน้อยเวลากด หรือขณะเคลื่อนไหวข้อ แต่ไม่มีอาการบวม สามารถเดินลงน้ำหนักได้ตามปกติ ข้อเท้าแพลงแบบนี้จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์
ส่วนระดับ 2 ข้อเท้าจะมีอาการบวมและฟกช้ำร่วมด้วย เนื่องจากเส้นเลือดเล็กๆมีการฉีกขาด ทำให้เลือดออกใต้ผิวหนัง เวลาที่ลงน้ำหนักจะรู้สึกปวดมาก อาการแบบนี้หายได้ภายใน 4-6 สัปดาห์
และระดับ 3 เส้นเอ็นยึดข้อเท้ามีฉีกขาดออกจากกัน ข้อจะบวมและฟกช้ำมาก ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อหรือลงน้ำหนักได้ ระดับความรุนแรงนี้ ต้องใช้เวลาในการรักษานานประมาณ 8-12 สัปดาห์ จึงจะหาย
สำหรับแนวทางการรักษาเบื้องต้น ในช่วง 24 - 48 ชั่วโมงแรกควรใช้ความเย็นประคบบริเวณที่บาดเจ็บ เนื่องจากความเย็นจะช่วยให้เส้นเลือดหดตัว ลดความเจ็บปวดและลดอาการบวมได้ ที่สำคัญ ห้ามใช้ยาหม่องหรือครีมต่าง ๆ นวด เพราะจะทำให้เส้นเลือดขยายตัว มีเลือดออกมาก และข้อเท้าจะบวมขึ้นอีก นอกจากนี้พยายามเคลื่อนไหวข้อเท้าให้น้อยที่สุด ควรยกเท้าไว้ในระดับที่สูงขณะนั่งหรือนอนจะช่วยให้อาการบวมลดลง ไม่ควรยืนหรือนั่งห้อยขานานๆ เพราะจะทำให้ข้อเท้าบวมและปวดมากขึ้น อาจใช้ผ้ายืดพันหรือใช้ไม้เท้าช่วยพยุงขณะเดิน
ประคบเย็นที่ข้อเท้าเพื่อลดอาการบวม
ใช้ผ้ายืดพันข้อเท้าเพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้า
ถ้ามีอาการบวมมากหรือยังไม่ดีขึ้นหลังดูแลในเบื้องต้นแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเดินลงน้ำหนักแล้วปวดข้อเท้ามาก อาจเกิดจากมีกระดูกข้อเท้าแตกหักร่วมด้วย ควรต้องมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษานะครับ
ที่มา อ.นพ.มนต์ชัย เรืองชัยนิคม
ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ค้นหาใน Web นี้
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Tennis Elbow คือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นทางด้านนอกข้อศอก ซึ่งเกิดจากการอักเสบตรงบริเวณที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกระดกข้อมือ...
-
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส วาริเซลลา มีลักษณะอาการเป็นผื่นแดงราบ ตุ่มใส ตุ่มหนอง กระจายตามหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง และมีไข้ เกิดจากเชื้อไว...
-
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จำเป็นหรือไม่ ? บทนำ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นการผ่าตัดเล็กที่ทำกันบ่อยมาก จนเกือ...
-
ต่อมทอนซิล คือต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณด้านข้างลำคอตรงโคนลิ้น เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิดทำ...
-
การล้างจมูกคืออะไร การล้างจมูก คือ การทำความสะอาดโพรงจมูก โดยการใส่ หรือหยอดน้ำเข้าไปในจมูกการล้างจมูก จะช่วยชะล้างมูก ครา...
-
ปุ่มกระดูกในช่องปาก ปุ่มกระดูกในช่องปากมีชื่อเรียกต่างกันไปตามตำแหน่งที่พบ เช่น พบในบริเวณกึ่งกลางเพดานของขากรรไกรบน จะเร...
-
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ กรดยูริคที่เป็นตัวการทำให้ข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เกิดมาจาก “ สารพิวรีน ” ทั้งที่มีอยู่ในร่าง...
-
โรค Carpal Tunnel Syndrome หรือชื่อย่อคือ CTS เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากเส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้า...
-
ผ่าตัดริดสีดวงทวาร อย่างไรไม่ให้เจ็บ (หรือเจ็บน้อย) โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบบ่อย เกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดขนาดเล็กบริเวณเยื่อบุ...
-
ผ่าตัดริดสีดวงทวาร อย่างไรไม่ให้เจ็บ (หรือเจ็บน้อย) โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบบ่อย เกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดขนาดเล็กบริเวณเยื่อบ...
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
ผู้ติดตาม
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น