วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

มาลาเรีย ไข้จับสั่น หรือไข้ป่า (Malaria)

มาลาเรีย ไข้จับสั่น หรือไข้ป่า (Malaria)

        เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม เชื้อที่ทำให้เกิดโรคในคนมี 4 ชนิด คือ ฟัลซิปารัม ไวแวกซ์ มาลาเรียอี และโอวาเล เชื้อมาลาเรียที่พบบ่อยในประเทศไทย คือ ชนิดฟัลซิปารัม และไวแวกซ์ ฟัลซิปารัม จะก่อให้เกิดอาการรุนแรงอาจถึงแก่ขีวิตได้ ส่วนชนิดไวแวกซ์ และโอวาเล สามารถซ่อนอยู่ในตับได้นาน และออกสู่กระแสเลือดได้ในภายหลัง ทำให้กลับเป็นโรคซ้ำได้อีก







แหล่งระบาด

      แหล่งระบาดของมาลาเรียอยู่ตามจังหวัดชายแดน โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นภูเขาสูง ป่าทึบ และมีแหล่งน้ำ ลำธาร อันเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่อง
      จังหวัดที่พบผู้ป่วยมาลาเรียส่วนใหญ่ ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ตาก ตราด ระนอง กาญจนบุรี จันทบุรี สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี และชุมพร

การติดต่อ

    ติดต่อสู่คนโดยการถูกยุงก้นปล่องตัวเมียที่มีเชื้อมาลาเรียกัด

วงจรชีวิต
1. เชื้อมาลาเรียที่กระเพาะอาหาร
2. เชื้อมาลาเรียระยะติดต่อในต่อมน้ำลายของยุง
3. ระยะที่เชื้ออยู่ในตับคน
4. เชื้อมาลาเรียถูกปล่อยจากตับเข้าสู่กระแสเลือด
5. เชื้อมาลาเรียชนิดมีเพศ



อาการ

         หลังจากได้รับเชื้อมาลาเรียประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการนำคล้ายกับเป็นหวัด คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารได้ ลักษณะเฉพาะของโรคที่เรียกว่า ไข้จับสั่น คือ มีอาการหนาวสั่น ไข้สูง และตามด้วยเหงื่อออก จะพบได้ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น

การวินิจฉัย

       โดยการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อมาลาเรีย


การรักษา

        มาลาเรียเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็ว และได้รับการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุ
        การซื้อยารักษาด้วยตนเอง หรือกินยาไม่ครบ อาจทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา หรือทำให้เป็นโรครุนแรงขึ้น และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การป้องกัน

        เมื่อจะต้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีแหล่งระบาดของมาลาเรีย ควรป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด ดังนี้
        1. สวมเสื้อผ้าป.กปิดร่างกายให้มิดชิด ควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อนๆ
        2. ทายากันยุง
        3. นอนในมุ้ง (ถ้าใช้มุ้งชุบน้ำยา จะเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกัน)
        4. ถ้านอนในห้องที่มีมุ้งลวด ควรพ่นยากันยุงก่อน

ที่มา    โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

          คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล


0 ความคิดเห็น:

ค้นหาใน Web นี้

บทความที่ได้รับความนิยม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ติดตาม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.