วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

วัยรุ่นกับยาเสพติด

วัยรุ่นกับยาเสพติด

ยาเสพติด คือสารใดๆ ก็ตามที่ไม่ใช่อาหารซึ่งสามารถมีผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายและจิตใจ ยาเสพติดแบบที่เรียกว่า ยาเปลี่ยนสภาพจิตใจสามารถเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก และการกระทำของบุคคลได้ ยาที่กระตุ้นร่างกายและการทำงานของสมองให้ทำงานเร็วขึ้น เรียกว่า ยากระตุ้นประสาท ยาที่ทำให้ร่างกายและการทำงานของสมองช้าลง เรียกว่า ยากดประสาท ยาที่ทำให้การมองเห็น ความรู้สึก และการได้ยินเปลี่ยนแปลงไป เรียกว่า ยาหลอนประสาท ยาเปลี่ยนจิตใจที่เยาวชนมักใช้ในทางที่ผิด ได้แก่ 


๑. นิโคติน เป็นสารเสพติดอย่างแรง (สร้างนิสัย) ที่พบในบุหรี่ นิโคตินเป็นยากระตุ้นประสาท ซึ่งเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นสาเหตุของหลอดเลือดอุดตัน และทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
การสูบบุหรี่ทำให้ลมหายใจมีกลิ่นไม่สะอาด ฟันมีคราบ มือมีกลิ่นเหม็น และก่อให้เกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และเสียชีวิตได้ โดยข้อเท็จจริงแล้ว การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการตายที่เราสามารถยับยั้งป้องกันได้มากที่สุด แม้แต่การสูดดมควันบุหรี่ผู้อื่นก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เรียกว่าเป็นการสูบบุหรี่ทางอ้อม 
๒. สุรา เป็นยากดประสาท เมื่อนักเรียนดื่มสุรา สุราจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง ผ่านกระเพาะและลำไส้ การดื่มสุราสามารถก่อให้เกิดความมึนเมา, สูญเสียการประสานงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย (ความสมดุล) ,เพิ่มความรุนแรง (พฤติกรรมที่เป็นอันตราย) ,ไม่สามารถเรียนรู้และจดจำได้ ,บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง , เพิ่มอุบัติเหตุ , มีปัญหากับผู้อื่น การดื่มสุราสามารถนำไปสู่การเสพติด (สร้างนิสัย) เป็นโรคร้ายและเสียชีวิตได้ 
๓. กัญชา เป็นยาเปลี่ยนสภาพจิตใจ คนที่สูบกัญชา มีลักษณะดังนี้ มีปฏิกิริยาตอบโต้ช้า , มีความจำไม่ดี, มีความสนใจเฉพาะในช่วงสั้น ๆ , คิดอะไรไม่ค่อยออก , มีความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไปทั้งในเรื่องเวลาและพื้นที่ นักเรียนที่เสพกัญชาอาจจะจำสิ่งที่เรียนไม่ค่อยได้ เชื่องช้า สมองทึบ ไม่มีความทะเยอทะยาน และอาจเสพติด ปัญหายาเสพติด นับเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยมาโดยตลอด การใช้สารเสพติด พบมากในช่วงวัยรุ่น หากเราจะหาวิธีป้องกันแก้ไข้ปัญหายาเสพติดทำได้โดยสร้างทักษะชีวิต ซึ่งจะมีส่วนสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กวัยรุ่นมีความเข้มแข็งห่างไกลจากยาเสพติด โดยทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสารเสพติด ประกอบด้วย ความรู้ เจตคติ และทักษะ ดังนี้
ความตระหนักรู้ในตน ตระหนักว่า ตนเองมีข้อดีในการป้องกันการถูกชักจูงให้ไปใช้สารเสพติด และข้อด้อยที่เสี่ยงต่อการชักจูงให้ไปใช้สารเสพติด อีกทั้งตระหนักในปัญหาที่เกิดจากการใช้สารเสพติด
ความเห็นใจผู้อื่น เห็นและเข้าใจ ผู้ใช้สารเสพติด ผู้เลิกใช้สารเสพติดผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหา สารเสพติด
ความภาคภูมิใจในตนเอง ภูมิใจในตนเองที่ไม่ใช้สารเสพติด เช่น สามารถช่วยเหลือพ่อแม่เท่าที่ทำ ได้ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเชื่อฟังพ่อแม่ ไม่สร้างปัญหาให้กบครอบครัว เป็นต้น
ความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถแสดงความคิดเห็นต่อบทบาทความรับผิดชอบของตนเองใน การป้องกัน ตนเอง ครอบครัว และชุมชนจากสารเสพติด และกรแพร่ระบาดของสารเสพติด
การสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร สามารถปฏิเสธเพื่อนในสถานการณ์ที่อาจถูกชวนไปใช้สาร เสพติดได้อย่างเหมาะสม และมีวิธีการหลีกเลี่ยง เช่น ไม่ลองทำตามคำชวนของเพื่อน เดินหนีออกจากกลุ่ม บอกครู เป็นต้น
การจัดการกับอารมณ์และความเครียด สามารถเลือกใช้วิธีจัดการกับอารมณ์และความเครียด ของตนเองได้เมื่อในสถานการณ์ความเสี่ยง ปฏิเสธอย่างไร...จะได้ไม่ติดยา วิธีการปฏิเสธเป็นทักษะที่จำเป็นและควรทำให้ได้ คนที่มีความคิดและมั่นใจในตนเองจะไม่คล้อยตามหรือยอมตามคนอื่น ถ้าคุณเห็นว่าเพื่อน (แม้จะเป็นเพื่อนรักก็ตาม) หรือคนอื่นๆ ชักชวนให้ทำในสิ่งที่จะเกิดผลเสียตามมา เราย่อมมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธ ส่วนเคล็ดลับในการปฏิเสธให้ได้ผลว่าวัยรุ่นควรปฏิบัติอย่างไร ในการเอาตัวรอดจากปัญหายาเสพติด ได้แก่
แสดงออกอย่างจริงจังทั้งท่าทาง คำพูด และน้ำเสียง จะทำให้อีกฝ่ายไม่กล้าเซ้าซี้
ใช้ความรู้สึกเป็นข้ออ้างประกอบเหตุผล เพราะใช้เหตุผลอย่างเดียวอาจถูกโต้แย้งได้ แต่ถ้าอ้าง ความรู้สึกจะทำให้อีกฝ่ายโต้แย้งได้ยากขึ้น เช่น เราไม่ชอบ เรากลัวพ่อแม่เสียใจ เรารู้สึกไม่ค่อยสบาย อยากพักผ่อน
สูดลมหายใจลึกๆ รวบรวมความกล้า กล่าวปฏิเสธออกไป เราไม่ไปดีกว่า เราไปไม่ได้จริงๆ อาจตอบท้ายด้วยคำพูดขอบคุณเพื่อเป็นการรักษาน้ำใจ
ถ้าถูกเซ้าซี้หรือสบประมาททำนองไม่แน่จริงนี่หว่า นายมันลูกแหง่ติดแม่ ยังเป็นเพื่อนหรือ เปล่า ก็อย่าหวั่นไหวกับคำพูด
แสดงจุดยืนอย่างหนักแน่น คือ ปฏิเสธซ้ำโดยไม่ต้องใช้ข้ออ้าง พร้อมทั้งบอกลาหาทางเลี่ยง ออกไปหรือใช้วิธียิ้มสู้ บอกด้วยน้ำเสียงนุ่มๆ แต่หนักแน่นว่า ไม่ล่ะ ขอบใจ แต่ถ้าคุณอยากใช้วิธีนุ่มนวลกว่า ก็อาจต่อรองโดยชวนไปทำกิจกรรมอื่นที่ดีกว่าแทน หรือขอผัดผ่อนเลื่อนเวลาไปก่อน เช่น เอาไว้โอกาสหน้าก็แล้วกัน รอให้สอบเสร็จก่อน วันนี้ไม่ได้จริง วันหลังแล้วกัน แต่ถ้าเพื่อนไม่ยอมก็ต้องใช้วิธีเดินหนีแล้วบอกลา
วิธีการปฏิเสธไม่ใช่เรื่องยาก เริ่มได้ที่ตัวเราเอง 
หากคุณมีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงที่จะห่างไกลจากภัยยาเสพติด

ที่มา    ฝ่ายสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลสวนปรุง


0 ความคิดเห็น:

ค้นหาใน Web นี้

บทความที่ได้รับความนิยม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ติดตาม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.