วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556
โรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis)
โรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis)
โรคไข้ฉี่หนู
เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นเกลียว มีชื่อว่า (Leptospira) จึงเรียกชื่อโรคนี้ว่าเลปโตสไปโรซิส
(Leptospirosis) เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
เช่น สุนัข แมว สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ ฯลฯ และที่สำคัญคือหนู แต่สัตว์ต่างๆ
อาจไม่แสดงอาการป่วย
การติดต่อ
โรคนี้เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
โดยสัตว์ที่เป็นโรคนี้จะขับถ่ายเชื้อโรคออกมากับปัสสาวะ
เชื้อจะอาศัยอยู่ได้ในดินที่ชื้นแฉะ หรือมีน้ำขัง และเข้าสู่คนทางผิวหนังอ่อน เช่น
ซอกนิ้วมือและเท้า บาดแผลหรือเยื่อเมือก ดังนั้นมักจะพบโรคนี้ในคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์
เช่น สัตวบาล เกษตรกร
และผู้มีอาชีพสัมผัสกับน้ำหรือคนที่ย่ำน้ำในที่น้ำท่วมขังนานๆ
แหล่งระบาด
โรคนี้พบมากในเขตร้อนหรือเขตมรสุม
เพราะมีสภาพอากาศที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของเชื้อ
และมีสัตว์ที่เป็นรังโรคอยู่ชุกชุม ในประเทศไทยโรคนี้กระจายอยู่ทั่วประเทศ
และมีรายงานพบผู้ป่วยมากในภาคอีสาน
อาการ
คนที่ได้รับเชื้ออาจมีหรือไม่มีอาการ
ในผู้ที่มีอาการมักแสดงหลังจากได้รับเชื้อ 2-3 วัน จนถึง 2-3
สัปดาห์ อาการที่สำคัญ คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ตาแดง
ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น่อง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อน คือ ตัวเหลือง ตาเหลือง ไตวาย
หรืออาการทางสมองและระบบประสาท และอาจถึงตายได้ (อัตราการตายอาจสูง ถึงร้อยละ 10-40)
การวินิจฉัย
โดยการซักประวัติผู้ป่วยเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของโรค อาการป่วย
การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดและปัสสาวะของผู้ป่วย
การรักษา
โรคนี้หากรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ
โดยให้ยาปฏิชีวนะเฉพาะโรคจะได้ผลดีกว่าปล่อยให้มีอาการรุนแรงแล้วจึงรักษาเนื่องจากอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
แต่ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมาใช้เอง เพราะอาจเป็นอันตรายจากการแพ้ยา หรือใช้ยาที่ไม่ถูกต้องได้
ดังนั้นควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง
การป้องกัน
- ป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยไม่เดินย่ำหรือแช่น้ำอยู่ในน้ำที่ท่วมขัง
ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ให้ป้องกันการสัมผัสน้ำโดย
ใช้รองเท้าบู้ทยาง
ถุงมือยาง เป็นต้น
- ควรฉีดวัคซีนให้สัตว์เลี้ยง
เพื่อไม่ให้เป็นรังโรค
- กำจัดหนู
และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ
เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนู
ย่ำน้ำท่วมขัง ควรระวังฉี่หนู
ถ้าสงสัยให้แพทย์ดู มัวช้าอยู่อาจถึงตาย
ที่มา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ค้นหาใน Web นี้
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Tennis Elbow คือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นทางด้านนอกข้อศอก ซึ่งเกิดจากการอักเสบตรงบริเวณที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกระดกข้อมือ...
-
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส วาริเซลลา มีลักษณะอาการเป็นผื่นแดงราบ ตุ่มใส ตุ่มหนอง กระจายตามหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง และมีไข้ เกิดจากเชื้อไว...
-
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จำเป็นหรือไม่ ? บทนำ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นการผ่าตัดเล็กที่ทำกันบ่อยมาก จนเกือ...
-
ต่อมทอนซิล คือต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณด้านข้างลำคอตรงโคนลิ้น เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิดทำ...
-
การล้างจมูกคืออะไร การล้างจมูก คือ การทำความสะอาดโพรงจมูก โดยการใส่ หรือหยอดน้ำเข้าไปในจมูกการล้างจมูก จะช่วยชะล้างมูก ครา...
-
ปุ่มกระดูกในช่องปาก ปุ่มกระดูกในช่องปากมีชื่อเรียกต่างกันไปตามตำแหน่งที่พบ เช่น พบในบริเวณกึ่งกลางเพดานของขากรรไกรบน จะเร...
-
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ กรดยูริคที่เป็นตัวการทำให้ข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เกิดมาจาก “ สารพิวรีน ” ทั้งที่มีอยู่ในร่าง...
-
โรค Carpal Tunnel Syndrome หรือชื่อย่อคือ CTS เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากเส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้า...
-
ผ่าตัดริดสีดวงทวาร อย่างไรไม่ให้เจ็บ (หรือเจ็บน้อย) โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบบ่อย เกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดขนาดเล็กบริเวณเยื่อบุ...
-
ผ่าตัดริดสีดวงทวาร อย่างไรไม่ให้เจ็บ (หรือเจ็บน้อย) โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบบ่อย เกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดขนาดเล็กบริเวณเยื่อบ...
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
ผู้ติดตาม
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น