วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
การฝึกลูกนั่งกระโถน
จากการที่แม่เฝ้าสังเกตลักษณะต่าง
ๆ ของทารก
ศึกษาจังหวะการกิน การนอนและการขับถ่ายในระยะแรกของชีวิต
และค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิตของทารกให้เข้ากับวิถีชีวิตของพ่อแม่ ค่อย ๆ ปรับการกินให้เปลี่ยนมากินข้าว 3 มื้อ เมื่ออายุ
1-2 ปี เปลี่ยนการนอนจากการที่ต้องตื่นทุก 3 ชั่วโมง มาเป็นนอนตลอดคืน
มาตื่นในช่วงกลางวันแทน ช่วงเวลา 2
ปีแรกนี้เองเป็นช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ รอบตัวรวมทั้งเรื่องของการขับถ่าย เป็นต้น
ณ จุดที่เด็กหัดเดิน แสดงว่าระบบประสาทบริเวณหลังได้พัฒนาเติบโตพอที่จะควบคุมอวัยวะส่วนกลาง
รวมทั้งระบบขับถ่ายถือเป็นจุดที่ควรเริ่มฝึกการขับถ่ายที่ดีที่สุด
พ่อแม่จะต้องคอยสังเกตท่าทีของเด็ก เช่น ถ้าเขายืนนิ่งตัวสั่นเล็กน้อย หรือทำท่าขนลุก นั่นแสดงว่าเขาปวดอึ บอกลูกว่าลูกปวดอึแล้วพาไปส้วม หรือนั่งกระโถน นั่นคือสอนให้เขารู้จักความรู้สึก สอนให้จับจังหวะที่จะไปเข้า ห้องน้ำ สอนให้รู้จักบอกความรู้สึกของตัวเอง สอนให้ถอดกางเกง
หยิบกระโถน หัดล้างก้น เป็นต้น ทั้งหมดจะใช้เวลาการฝึกรวม 4 – 5 ปี
(ขอขอบคุณนายแบบน้อย.....น้องพู่กัน ด.ช กฤษติน )
สาเหตุที่ฝึกการขับถ่ายเด็กไม่ได้
1. ผู้ฝึกไม่เข้าใจวิธีการฝึกแบบเป็นขั้นตอน ใจร้อน รวบรัด บีบบังคับ
2. ผู้ฝึกไม่เข้าใจพัฒนาการของเด็ก และไม่เข้าใจลักษณะเด็กทำให้ไปฝึกในช่วงที่ไม่เหมาะสม เช่น ฝึกตั้งแต่อายุ 6 เดือน หรือไปเริ่มฝึกในช่วงอายุ 3
– 5 ปีซึ่งเป็นวัยต่อต้าน
3. ฝึกไม่สม่ำเสมอ ใช้ระยะเวลาในการฝึกสั้น
4. เด็กมีความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาท การควบคุมของอวัยวะส่วนนี้ทำงานบกพร่อง
วิธีการแก้ไข
เข้าใจหลักการฝึก การฝึกขับถ่ายเป็นงานที่ต้องอาศัยความละเอียดอ่อน
ทั้งนี้เนื่องจากประกอบด้วยการฝึกสอนหลายขั้นตอนดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้สึกของเด็ก เพราะถ้าไปฝึกในช่วงที่เด็กไม่รู้สึกอยากอึ ทำอย่างไรเด็กก็ไม่อึเช่นกัน และเกี่ยวข้องกับเทคนิคของผู้ฝึกฝนว่ามีเวลาให้นานพอไหม ใจร้อนหรือเปล่า เข้าใจความรู้สึกและเข้าใจพัฒนาการหรือไม่
การฝึกที่ดีต้องอาศัย
- ท่าทีขอผู้ฝึกที่ใจเย็น ไม่เร่งรัด หรือบีบบังคับ เข้าใจความรู้สึกของเด็ก
- มีขั้นตอนการฝึกฝน เช่น ฝึกจากง่ายไปยาก ฝึกจากสิ่งที่ชอบแล้วเมื่อทำได้ก็ไปฝึกในสิ่งที่เด็กไม่ชอบ หรือฝึกจากงานที่ไมยุ่งยากไปสู่งานที่ซับซ้อน เป็นต้น
- มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างผู้ฝึกและเด็ก มิใช่ว่าเมื่อเด็กยังทำไม่ได้ก็โกรธเด็กไปอีก 2 – 3 วัน กระทบกระเทียบค่อนแคะ หรือทำให้เด็กรู้สึกอับอายที่ยังทำไม่ได้
- คอยชื่นชม หมั่นให้กำลังใจเป็นระยะ และให้ความเข้าใจเมื่อเด็กยังทำไม่ได้
- มีความสม่ำเสมอในการฝึกสอน ทำให้เด็กคาดเดาท่าทีได้เช่น
เด็กรู้ว่าแม่ต้องการให้ช่วยตัวเองให้มากที่สุด แต่ถ้าทำไม่ได้ในส่วนไหน แม่จะเข้ามาช่วย เป็นต้น
- ให้ระยะเวลา ในการฝึกฝน
- เข้าใจเด็ก ส่วนนี้เป็นส่วนที่มีความสำคัญพอ ๆ กับข้อแรกที่กล่าวมา เพราะการฝึกให้เด็กขับถ่าย เด็กจะต้องเข้าใจและรู้ทันความรู้สึกและมีความสามารถพอที่จะช่วยตัวเองได้และที่สำคัญคือช่วงที่จะฝึกคือ
อายุ 1 ขวบขึ้นไป
เป็นช่วงที่เด็กเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด ยิ่งไปบีบบังคับหรือข่มขู่จะยิ่งทำให้เกิดปัญหาตามมาได้
- เข้าใจตัวเอง พ่อแม่ที่มองเห็นปัญหาของตัวเองจะทำให้มีการปรับปรุงเทคนิคและรูปแบบ ทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการฝึกฝนลูกได้สูงกว่าพ่อแม่ที่ไม่ยอมมองจุดอ่อนของตัวเอง
เช่น รู้ตัวว่าเป็นคนใจร้อน ชอบบีบบังคับหรือเร่งรัดเด็ก หรือรู้ว่าตัวเองชอบวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ บางครั้งที่เด็กไม่อึมา 2 วัน คนที่เดือดร้อนและรู้สึกอึดอัดกายเป็นคุณแม่ โดยที่เด็กก็ยังกินและเล่นได้จึงพยายามไปสวนให้เด็กอึออกมาให้ได้
- ในกรณีที่เด็กมีพัฒนาการช้าร่วมด้วย ควรปรึกษากุมารแพทย์
ที่มา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ค้นหาใน Web นี้
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Tennis Elbow คือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นทางด้านนอกข้อศอก ซึ่งเกิดจากการอักเสบตรงบริเวณที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกระดกข้อมือ...
-
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส วาริเซลลา มีลักษณะอาการเป็นผื่นแดงราบ ตุ่มใส ตุ่มหนอง กระจายตามหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง และมีไข้ เกิดจากเชื้อไว...
-
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จำเป็นหรือไม่ ? บทนำ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นการผ่าตัดเล็กที่ทำกันบ่อยมาก จนเกือ...
-
ต่อมทอนซิล คือต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณด้านข้างลำคอตรงโคนลิ้น เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิดทำ...
-
การล้างจมูกคืออะไร การล้างจมูก คือ การทำความสะอาดโพรงจมูก โดยการใส่ หรือหยอดน้ำเข้าไปในจมูกการล้างจมูก จะช่วยชะล้างมูก ครา...
-
ปุ่มกระดูกในช่องปาก ปุ่มกระดูกในช่องปากมีชื่อเรียกต่างกันไปตามตำแหน่งที่พบ เช่น พบในบริเวณกึ่งกลางเพดานของขากรรไกรบน จะเร...
-
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ กรดยูริคที่เป็นตัวการทำให้ข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เกิดมาจาก “ สารพิวรีน ” ทั้งที่มีอยู่ในร่าง...
-
โรค Carpal Tunnel Syndrome หรือชื่อย่อคือ CTS เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากเส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้า...
-
ผ่าตัดริดสีดวงทวาร อย่างไรไม่ให้เจ็บ (หรือเจ็บน้อย) โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบบ่อย เกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดขนาดเล็กบริเวณเยื่อบุ...
-
ผ่าตัดริดสีดวงทวาร อย่างไรไม่ให้เจ็บ (หรือเจ็บน้อย) โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบบ่อย เกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดขนาดเล็กบริเวณเยื่อบ...
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
ผู้ติดตาม
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น