วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ลำดับการขึ้นของฟันแท้
ลำดับการขึ้นของฟันแท้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับฟันแท้
ฟันแท้เป็นฟันชุดที่สองมีทั้งหมด 32 ซี่ ประกอบด้วย ฟันบน 16 ซี่
ฟันล่าง 16 ซี่
ซึ่งฟันแต่ละซี่จะมีรูปร่างและหน้าที่แตกต่างกัน เช่น
ฟันหน้าตัดทำหน้าที่ตัดหรือกัดอาหาร ฟันเขี้ยวทำหน้าที่ฉีกอาหาร
ฟันกรามน้อยและฟันกรามทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร
ฟันแท้จะขึ้นมาในช่องปากครั้งแรกเมื่อเด็กอายุได้ 6 ขวบเป็นฟันกรามซี่ที่ 1 ล่าง
ถ้าดูจากในช่องปากจะอยู่หลังจากฟันน้ำนมซี่ในสุดเข้าไป
ฟันซี่นี้อยากจะขอให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็กช่วยกันดูแล
เพราะคนส่วนมากมักคิดว่าฟันซี่นี้เป็นฟันน้ำนม
เนื่องจากขึ้นมาในช่องปากโดยไม่ได้แทนที่ฟันน้ำนม ฟันกรามซี่ที่ 1 มีความสำคัญมากเพราะเป็นซี่ที่สำคัญที่สุดในการบดเคี้ยวอาหารไปตลอดชีวิต
หรือจะเรียกว่าเป็นหัวใจสำคัญในการบดเคี้ยวอาหาร
จึงมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในวัยเรียน เป็นอย่างมาก
เด็กที่มีฟันผุมักจะมีร่างกายผอม ไม่แข็งแรง เด็กบางคนอาจมีผลทำให้ขาดอาหารได้
เพราะใช้ฟันเคี้ยวอาหารไม่สะดวก ใช้ฟันซี่อื่นไม่ถนัด
ในการบดเคี้ยวดีเท่าฟันซี่นี้ นอกจากนี้ฟันแท้ซี่นี้เป็นแนวทางให้ฟันแท้ซี่อื่น
ๆ ที่จะขึ้นต่อไป
ขึ้นได้ตรงตามตำแหน่งทำให้การสบฟันทั้งปากเป็นปกติเป็นการป้องกันการเกิดฟันเกและฟันซ้อนในเด็ก
อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรให้สมบูรณ์
ฟันแท้จะทยอยกันขึ้นและฟันน้ำนมก็จะค่อยๆ หลุดร่วงออกไป
จนกระทั่งเมื่ออายุ 12-13 ปี ฟันแท้จะขึ้นมา 28 ซี่ ต่อจากนั้นจะไม่มีฟันขึ้นมาใหม่เลย จนอายุประมาณ 18 ปี ฟันแท้ 4 ซี่สุดท้ายซึ่งเป็นฟันกรามซี่ในสุด
(ซี่ที่ 3) จะขึ้นมาในช่องปาก เนื่องจากเป็นฟันที่ขึ้นมาหลังสุด อาจจะขึ้นเอียงๆ หรือนอนตะแคงอยู่เพราะเนื้อที่ของขากรรไกรไม่พอ คนส่วนใหญ่เรียกฟันซี่นี้ว่า “ฟันคุด” และมักจะถูกถอนออกเพราะไม่มีที่ขึ้น ในผู้ใหญ่บางคนฟันแท้อาจจะมีไม่ครบ 32 ซี่ ซึ่งพบได้มากในปัจจุบัน ฟันที่หายไปมักจะเป็นฟันกรามซี่ในสุด
สันนิษฐานว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะเกิดจากวิวัฒนาการของมนุษย์
ลักษณะรูปร่างของฟันแท้
ฟันหน้าตัดกลางบน ฟันหน้าตัดข้างบน ฟันเขี้ยวบน
ฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งบน ฟันกรามน้อยซี่ที่สองบน ฟันกรามซี่ที่หนึ่งบน
ฟันกรามซี่ที่สองบน ฟันกรามซี่ที่สามบน ฟันหน้าตัดกลางล่าง
ฟันหน้าตัดข้างล่าง ฟันเขี้ยวล่าง ฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งล่าง
ฟันกรามน้อยซี่ที่สองล่าง ฟันกรามซี่ที่หนึ่งล่าง ฟันกรามซี่ที่สองล่าง
ฟันกรามซี่ที่สามล่าง
ฟันแท้ขึ้นแล้วควรทำอย่างไร
ถ้าฟันแท้ขึ้นแล้ว แต่ฟันน้ำนมยังไม่หลุดควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์ เพื่อพิจารณาถอนฟันน้ำนม
เพื่อไม่ให้กีดขวางการขึ้นของฟันแท้ ดังรูป
เมื่อฟันกรามแท้ขึ้น ควรเคลือบหลุมร่องฟัน เพื่อป้องกันฟันผุ เนื่องจากด้านบดเคี้ยวของฟันกรามมีหลุมร่องมากมาย
ทำความสะอาดยาก โดยฟันกรามแท้จะขึ้นเมื่ออายุ 6 และ 12 ปี
จัดทำโดย
นทพ. กฤษณา เกษมวัฒนา
นทพ. ชนกฤดี ธงไชย
นทพ. รมิตา ทองฉิม
นทพ. วรวีร์ ไตรสิงห์
นทพ. ศุภาณัฐ รักความสุข
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ค้นหาใน Web นี้
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Tennis Elbow คือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นทางด้านนอกข้อศอก ซึ่งเกิดจากการอักเสบตรงบริเวณที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกระดกข้อมือ...
-
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส วาริเซลลา มีลักษณะอาการเป็นผื่นแดงราบ ตุ่มใส ตุ่มหนอง กระจายตามหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง และมีไข้ เกิดจากเชื้อไว...
-
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จำเป็นหรือไม่ ? บทนำ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นการผ่าตัดเล็กที่ทำกันบ่อยมาก จนเกือ...
-
ต่อมทอนซิล คือต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณด้านข้างลำคอตรงโคนลิ้น เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิดทำ...
-
การล้างจมูกคืออะไร การล้างจมูก คือ การทำความสะอาดโพรงจมูก โดยการใส่ หรือหยอดน้ำเข้าไปในจมูกการล้างจมูก จะช่วยชะล้างมูก ครา...
-
ปุ่มกระดูกในช่องปาก ปุ่มกระดูกในช่องปากมีชื่อเรียกต่างกันไปตามตำแหน่งที่พบ เช่น พบในบริเวณกึ่งกลางเพดานของขากรรไกรบน จะเร...
-
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ กรดยูริคที่เป็นตัวการทำให้ข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เกิดมาจาก “ สารพิวรีน ” ทั้งที่มีอยู่ในร่าง...
-
โรค Carpal Tunnel Syndrome หรือชื่อย่อคือ CTS เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากเส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้า...
-
ผ่าตัดริดสีดวงทวาร อย่างไรไม่ให้เจ็บ (หรือเจ็บน้อย) โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบบ่อย เกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดขนาดเล็กบริเวณเยื่อบุ...
-
ผ่าตัดริดสีดวงทวาร อย่างไรไม่ให้เจ็บ (หรือเจ็บน้อย) โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบบ่อย เกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดขนาดเล็กบริเวณเยื่อบ...
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
ผู้ติดตาม
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น