วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
โรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน
สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน
1. การไม่ได้รับแคลเซียมที่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็กและวัยหนุ่ม สาว ซึ่งเป็นช่วงที่ควรสร้างความหนาแน่นของกระดูกมากที่สุด
2. สาเหตุจากรรมพันธุ์ ซึ่งควรจะพิจารณาถึงบุคคลในครอบครัว เช่น ปู่ ยา ตา ยาย ถ้าท่านเหล่านั้นมีอาการของโรคกระดูกพรุนอย่างชัดเจน โอกาสที่บุตรหลานจะมีอาการ เช่นกันนั้นสูงถึง 80% ส่วน 20% ที่เหลือนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะในการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย
3. ยาอาจเกิดจากการใช้ยาสำหรับโรคบางอย่างที่นำสู่การลดความหนาแน่นของ กระดูก เช่น ออร์ติโซน สำหรับโรคไขข้ออักเสบ, โรคหืด, ยาเฮปาริน สำหรับโรคหัวใจ และความดันโลหิต การรักษาโดยการฉายรังสี หรือการให้สารเคมีก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่มีการทำลายเซลล์กระดูก ซึ่งนำไปสู่โรคกระดูกพรุน
4. กายภาพ การสูบบุหรี่ การดื่มสุราเป็นประจำ จะลดประสิทธิภาพการดูดซึม ธาตุแคลเซียม ใน ร่างกาย ทำให้กระดูกเสื่อมและหดลงเร็ว
5. คาเฟอีน การดื่มกาแฟมาก ๆ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเช่น โค้ก, ชา เป็นต้น ก็ทำให้กระดูกเสื่อมง่ายขึ้น
6. ฮอร์โมน การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนของหญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้ ประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูก พรุนเพิ่มขึ้น
7. อาหารที่มีแคลเซี่ยมต่ำ การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำในวัยชรา และใน คู่สามีภรรยา จะทำให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรค กระดูกพรุนเพิ่มขึ้น
8. การสูญเสียแคลเซียม ผ่านทางผิวหนัง ปัสสาวะและอุจจาระ ควรจะทดแทนการ สูญเสียเหล่านั้น เพื่อรักษาระดับแคลเซียมในกระดูก
9. การไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย เมื่อวัยชราโรคกระดูดพรุนเกิดขึ้นรุนแรง ถ้าขาดการออกกำลังกาย และการสูญเสียความแข็งแรงของกระดูก มักเกิดขึ้นในช่วง ที่ไม่ได้เคลื่อนไหว เช่น ในขณะนั่งรถเข็น หรือนอนพักฟื้น
10. ขาดวิตามินดี เพราะในวิตามินดีมีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ในบ้านเรามักจะไม่มี ปัญหาการขาดวิตามีนดี เนื่องจากมีแสงแดดตลอดปี
การป้องกัน
1. ออกกำลังกายเป็นกิจวัตร โดยเฉพาะกลางแจ้งตอนที่มีแดดอ่อน เช่น เวลาเช้า หรือเย็น
2. เมื่อมีความเจ็บป่วยไม่ว่าจากสาเหตุใด ควรรีบทำกายภาพบำบัด หรือเคลื่อน ไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เร็วที่สุดเท่าที่สภาพร่างกายจะเอื้ออำนวย
3. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลากระป๋อง ซึ่งสามารถรับประทาน กระดูกปลาได้ หรือดื่มนมพร่องไขมันเนย ผักผลไม้ เป็นต้น
4. งดการดื่มสุรา และสูบบุหรี่
5. ไม่ควรซื้อยารับประทาน เช่น ยาลูกกลอน เพราะมักจะมีสารเสตียรอยด์ผสมอยู่ ทำให้กระดูกพรุนได้โดยไม่รู้ตัว
ที่มา รศ.นพ.
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
Faculty of
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ค้นหาใน Web นี้
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Tennis Elbow คือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นทางด้านนอกข้อศอก ซึ่งเกิดจากการอักเสบตรงบริเวณที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกระดกข้อมือ...
-
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส วาริเซลลา มีลักษณะอาการเป็นผื่นแดงราบ ตุ่มใส ตุ่มหนอง กระจายตามหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง และมีไข้ เกิดจากเชื้อไว...
-
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จำเป็นหรือไม่ ? บทนำ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นการผ่าตัดเล็กที่ทำกันบ่อยมาก จนเกือ...
-
ต่อมทอนซิล คือต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณด้านข้างลำคอตรงโคนลิ้น เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิดทำ...
-
การล้างจมูกคืออะไร การล้างจมูก คือ การทำความสะอาดโพรงจมูก โดยการใส่ หรือหยอดน้ำเข้าไปในจมูกการล้างจมูก จะช่วยชะล้างมูก ครา...
-
ปุ่มกระดูกในช่องปาก ปุ่มกระดูกในช่องปากมีชื่อเรียกต่างกันไปตามตำแหน่งที่พบ เช่น พบในบริเวณกึ่งกลางเพดานของขากรรไกรบน จะเร...
-
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ กรดยูริคที่เป็นตัวการทำให้ข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เกิดมาจาก “ สารพิวรีน ” ทั้งที่มีอยู่ในร่าง...
-
โรค Carpal Tunnel Syndrome หรือชื่อย่อคือ CTS เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากเส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้า...
-
ผ่าตัดริดสีดวงทวาร อย่างไรไม่ให้เจ็บ (หรือเจ็บน้อย) โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบบ่อย เกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดขนาดเล็กบริเวณเยื่อบุ...
-
ผ่าตัดริดสีดวงทวาร อย่างไรไม่ให้เจ็บ (หรือเจ็บน้อย) โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบบ่อย เกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดขนาดเล็กบริเวณเยื่อบ...
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
ผู้ติดตาม
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น