วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ Rheumatoid Arthritis

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นกลุ่มอาการของโรคที่มีการอักเสบของทุกระบบในร่างกาย แต่จะมีการอักเสบเด่นชัดที่ เยื่อบุข้อ และ เยื่อบุเส้นเอ็น ลักษณะสำคัญของโรคนี้ได้แก่ มีการอักเสบของข้อ หลาย ๆ ข้อ พร้อม ๆ กัน เป็นเรื้อรังติดต่อกันนานเป็นเดือน ๆ หรือ ปี ๆ โรคนี้จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 5 เท่า อาการอาจเริ่มปรากฏในช่วงอายุเท่าใดก็ได้ แต่จะพบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี ถ้าหากเริ่มเป็นตั้งแต่เด็กก็มักจะมีอาการรุนแรง ในเด็กจะมีอาการและอาการแสดงต่างจากผู้ใหญ่ 

อาการและการวินิจฉัย
ใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรครูมาตอยด์ของวิทยาลัยโรคข้อแห่งอเมริกา (Criteria for the classification of the American College of Rheumatology, 1987) 



  1. ข้อยึดในช่วงเช้าหลังตื่นนอนนานกว่า 1 ชั่วโมง เกือบทุกวัน ติดต่อกันอย่างน้อย 6 สัปดาห์ 
  2. ข้ออักเสบบวมแดงอย่างน้อย 3 ใน 14 ข้อ ติดต่อกันอย่างน้อย 6 สัปดาห์ 
  3. ข้อในมืออักเสบ ติดต่อกันอย่างน้อย 6 สัปดาห์ 
  4. ข้ออักเสบในตำแหน่งที่สมมาตรกัน (เช่น) ข้อมือซ้ายสมมาตรกับข้อมือขวา ติดต่อกันอย่างน้อย 6 สัปดาห์ 
  5. พบตุ่มนูนรูมาตอยด์ใต้ผิวหนังในบริเวณจำเพาะ 
  6. ตรวจเลือดพบรูมาตอยด์แฟกเตอร์ 
  7. เอ๊กซเรย์พบผิวข้อถูกทำลาย 
คนไข้ที่มีอาการอย่างน้อย 4 ใน 7 ข้อ จะถือว่าเป็นโรคนี้

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ สามารถใช้ข้อต่าง ๆ ได้เกือบเท่ากับคนปกติ จะมีผู้ป่วยส่วนน้อยประมาณร้อยละ 20 เท่านั้นที่มีอาการรุนแรง ทำให้เกิดความพิการ มีข้อบิดเบี้ยวผิดรูปร่างจนใช้งานไม่ได้ และมีผู้ป่วยจำนวนน้อยมาก ที่จะมีอาการอักเสบของอวัยวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตา หัวใจ หลอดเลือด ปอด ม้าม เป็นต้น 

โรคนี้เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ก็เป็นโรคที่สามารถควบคุมอาการได้ แต่ ต้องใช้เวลานาน ดังนั้น ผู้ป่วยจะต้องมีความอดทนในการรักษาไม่ควรเปลี่ยนแพทย์หรือเปลี่ยนยาเองเพราะ จะทำให้การรักษาไม่ต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลเสียอย่างมากต่อตัวผู้ป่วยเองโดยเฉพาะเมื่อเกิดความพิการขึ้น แล้วก็ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้ สำหรับข้อที่มีการอับ เสบอยู่แล้ว การรักษาจะเป็นการควบคุมโรคไม่ให้เป็นมากขึ้น ดังนั้นข้อก็อาจจะบวม ผิดรูปอยู่เหมือนเดิม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าการรักษาไม่ได้ผล

โรครูมาตอยด์มีความรุนแรงแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ดังนั้นแพทย์ก็จะให้การรักษาแตกต่างกันไป โดยเฉพาะในระยะแรกแพทย์อาจต้องปรับเปลี่ยนยาไปมา เพื่อหาว่ายาตัวใดเหมาะสมกับผู้ป่วยคนนั้นมากที่สุด ส่วนผลการรักษาจะดีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาที่เป็นโรค ความรุนแรงของโรค การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโดยเฉพาะการทำกายภาพบำบัดของข้อ และ การใช้ข้ออย่างถูกวิธี

แนวทางการรักษา 
การทำกายภาพบำบัดของข้อ เช่น -ประคบด้วยความร้อน หรือแช่ในน้ำอุ่น -ใส่เฝือกชั่วคราวในช่วงที่อักเสบมากหรือตอนกลางคืน เพื่อลดอาการปวดและป้องกันข้อติดผิดรูป -ขยับข้อให้เคลื่อนไหวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันข้อติดแข็ง โดยเฉพาะนิ้วมือและข้อมือ -ออก กำลังให้กล้ามเนื้อแข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อนิ้วมือ มือ และแขน ซึ่งอาจจะใช้วิธีบีบฟองน้ำ ลูกบอลยาง ลูกเทนนิสหรือเครื่องออกกำลังที่ใช้มือบีบอื่น ๆ รวมถึงการยกน้ำหนัก 1 – 3 กิโลกรัมร่วมด้วยก็ได้ -ใช้ข้ออย่างถูกวิธี พยายามกระจายแรงไปหลายๆข้อ เช่น ใช้มือสองข้างช่วยกันจับสิ่งของแทนการใช้มือข้างเดียว ใช้ข้อใหญ่ออกแรงแทนข้อเล็ก เช่น ใช้แขนเปิดประตูแทนใช้ข้อมือ หรือ ใช้อุ้งมือเปิดฝาขวดแทนใช้นิ้วมือ -ปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะ สม เช่น ก๊อกน้ำควรเป็นแบบคันโยก ไม่ควรใช้แบบบิด-หมุน ประตูควรเป็นแบบเลื่อนเปิด-ปิดไม่ควรใช้ลูกบิด

ยากลุ่มระงับการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ใน ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง จะช่วยลดอาการปวดและบวมตามข้อได้ค่อนข้างดี และเมื่อเลือกใช้ยาตัวใดก็ควรรับประทานยาติดต่อกันอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่น ผลข้างเคียงที่สำคัญของยา ทุกตัวในกลุ่มนี้คือ ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ แสบท้อง เป็นแผลในกระเพาะอาหาร อาจจะมีบวมบริเวณหน้า แขน ขา ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง และ ต้องระวังการใช้ยาในผู้สูงอายุ ยากลุ่มนี้จะมียาใหม่ที่มีผลข้างเคียง เกี่ยวกับการเกิดแผลในทางเดินอาหารน้อย แต่จะมีราคาค่อนข้างแพง จึงควรเลือกใช้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในทางเดินอาหารเช่น ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ที่เคยมีแผลในทางเดินอาหาร

ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยากลุ่ม นี้มีทั้งชนิดกินและฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือฉีดเข้าข้อ จะใช้เมื่อการอักเสบรุนแรง แต่ไม่ควรใช้ในขนาดสูงหรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะผลข้างเคียงมาก เช่น กระดูกพรุน ไตวายเฉียบพลัน ติดเชื้อง่าย และเมื่อหยุดยาก็จะกลับมีอาการขึ้นอีก ในช่วงที่มีการอักเสบมาก อาจใช้ในขนาดสูง เมื่ออาการดีขึ้นก็ควรลดยาลง

ยากลุ่มยับยั้งข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่ออกฤทธิ์ช้า เป็น ยาที่ค่อนข้างอันตราย มีผลข้างเคียงมาก แพทย์จึงจะใช้ในกรณีที่ใช้ยากลุ่มอื่นแล้วไม่ได้ผล หรือในผู้ที่มีอาการอักเสบรุนแรง มีรูมาตอยด์แฟคเตอร์ในเลือดสูง ยากลุ่ม นี้จะออกฤทธิ์ช้า กว่าจะเห็นผลต้องให้ยาติดต่อกันอย่างน้อย 2 เดือนขึ้นไป ยาที่ใช้บ่อย และค่อนข้างปลอดภัยคือ ยาคลอโรควิน ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย และสามารถลดการอักเสบในโรครูมาตอยด์ได้ด้วย โดยมักจะใช้ควบคู่ไปกับยาในข้อ 2 มีผลข้างเคียงคือ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ ตาพร่า ผื่นคัน ผิวแห้ง ผิวคล้ำ ซึ่งจะลดอาการทางผิวหนังได้โดยหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรง แต่ถ้าเกิดผลข้างเคียงมาก เช่น ตาพร่า ก็ต้องหยุดใช้ยา ยาตัวอื่นใน กลุ่มนี้ เช่น ยาMTX ยาเกลือทอง ยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย และ ยังมียาใหม่ ๆ ที่เริ่มนำมาใช้อีกหลายชนิด ซึ่งเป็นยาที่อันตราย มีผลข้างเคียงสูง ถ้าจะใช้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด

การผ่าตัด เช่น ผ่าตัดเลาะเยื่อบุข้อที่มีการอักเสบออก ผ่าตัดเย็บซ่อมหรือย้ายเส้นเอ็น ผ่าตัดเชื่อมข้อติดกัน ผ่าตัดกระดูกปรับแนวข้อให้ตรงขึ้น ผ่าตัดใส่ข้อเทียม การผ่าตัดถือว่าเป็นการรักษาปลายเหตุเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น

0 ความคิดเห็น:

ค้นหาใน Web นี้

บทความที่ได้รับความนิยม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ติดตาม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.